สิวเกิดขึ้นได้แทบทุกจุดในร่างกายจริง ๆ ไม่เว้นแม้แต่บนศีรษะก็เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นบริเวณที่พบเจอสิวขึ้นได้ไม่บ่อยเท่ากับส่วนอื่น ๆ นอกจากนั้นหนังศีรษะปกคลุมด้วยเส้นผม ยากต่อการเห็นและเข้าถึงสิว จึงทำให้ไม่รู้ว่าควรจะดูแลและรักษาสิวที่หัวยังไง บทความนี้สิวที่หัวเป็นตุ่มสาเหตุคืออะไร รักษาอย่างไรดีวัตสันจึงนำเอาวิธีดูแลรักษาสิวที่หัวบอกต่อเพื่อน ๆ กันด้วย ตามไปดูต่อในบทความได้เลย
สิวที่หัวคืออะไร?
สิวที่หัว (Scalp Acne) เป็นการเกิดสิวบนหนังศีรษะ เกิดการอุดตันรูขุมขนบนหนังศีรษะ สาเหตุจากการสะสมของน้ำมันส่วนเกิน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และแบคทีเรีย ฯลฯ ทำให้เกิดตุ่มคล้ายสิว สามารถปรากฏเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ หรือใหญ่ ๆ มีทั้งแบบที่มีหัวขาวหรือหัวดำ และแบบที่ไม่มีหัว และอาจทำให้รู้สึกเจ็บหรือคันได้ มักจะพบบ่อยที่บริเวณท้ายทอยและตามไรผม
ลักษณะของสิวที่หัว
ลักษณะของสิวที่หัว หรือสิวที่หนังศีรษะ จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สิวไม่อักเสบ และสิวอักเสบ ซึ่งสิวทั้ง 2 ประเภท สามารถแบ่งตามลักษณะได้ ดังนี้
สิวไม่อักเสบ (Non-inflammatory acne)
สิวไม่อักเสบ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน หรือที่เรียกว่า หัวสิว (comedone) แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่
- สิวหัวปิด (Whiteheads) เป็นสิวตุ่มนูนเล็ก ๆ สีขาวหรือสีเนื้อ เกิดจากการอุดตันของไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วภายในรูขุมขน
- สิวหัวเปิด (Blackheads) เป็นสิวตุ่มนูนเล็ก ๆ สีดำ เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนที่เปิดออก ทำให้ส่วนที่อุดตันสัมผัสกับอากาศและออกซิไดซ์กลายเป็นสีดำ
สิวอักเสบ (Inflammatory acne)
เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน หรือรูขุมขนที่ติดเชื้อแบคทีเรียแบ่งเป็น 4 ชนิดย่อย ได้แก่
- สิวตุ่มแดง (Papules) เป็นสิวตุ่มนูนเล็ก ๆ สีแดง อักเสบ มีอาการเจ็บร่วมด้วย
- สิวหัวหนอง (Pustules) เป็นสิวตุ่มหนองสีขาวหรือเหลืองอยู่ตรงกลาง มักมีอาการเจ็บหรือคัน
- สิวตุ่มนูนแดงใหญ่ (Nodules) เป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนัง มักมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย
- สิวซีสต์ (Cysts) เป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ บวม แดง และมีหนองอยู่ข้างใน มักมีอาการเจ็บปวดมาก
สิวที่หัวเกิดจากอะไร
ความมันบนหนังศีรษะ
บทหนังศีรษะมีรูขุมขนอยู่ด้วย ซึ่งทุกรูขุมขนมีต่อมไขมันที่ผลิตน้ำมันออกมาเคลือบเส้นผม แต่ถ้าเกิดต่อมไขมันนั้นทำงานผิดปกติ หรือต่อมไขมันบนหนังศีรษะผลิตน้ำมัน (sebum) มากเกินไป จะทำให้น้ำมันรวมตัวกับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว และอุดตันรูขุมขน รวมไปถึงถ้าดูแลสุขภาพหรือรักษาความสะอาดผมได้ไม่ดีพอ ก็มีส่วนทำให้เกิดเป็นสิวบนหัวได้ด้วย
การอุดตันของสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรียสะสม
สิ่งสกปรกบนหนังศีรษะ เมื่อเข้าไปผสมกับน้ำมันในรูขุมขนแล้ว จะเกิดการอุดตันและเกิดการอักเสบได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดเป็นสิวที่หัวและมีหนอง อาจเกิดมาจากสิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. acnes) หรือเชื้อรา Malassezia อาศัยอยู่บนหนังศีรษะมากเกินไป
สิวที่หัวจากฮอร์โมน
สิวบนหัวจากฮอร์โมนของเพศหญิงและเพศชาย เกิดจากฮอร์โมนคนละตัวกัน ในผู้ชายจะเกิดจากฮอร์โมนแอนโดนเจน (Androgen) เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นซึ่งมีผลต่อต่อมไขมัน ทำให้มีความมันมากขึ้น และเกิดสิวได้ ส่วนในผู้หญิงเกิดจากฮอร์โมนแอนโดนเจน (Androgen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ลดลง เมื่อระดับฮอร์โมนลดลงจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดสิวขึ้นได้
การอักเสบของรูขุมขน
การอักเสบของรูขุมขนเกิดจากการที่รูขุมขนถูกรบกวนจากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น โกนผม เกาหนังศีรษะ ดึงผม หรือมัดผมตึงเกินไป ทำให้เกิดรอยแผลเล็ก ๆ และเมื่อมีแผล สิ่งสกปรกและแบคทีเรียสามารถเข้าไปได้ ด้เลยทำให้เกิดการอักเสบขึ้นจนกลายเป็นสิว ซึ่งจะมีลักษณะเป็นตุ่มคล้ายสิว แต่ไม่มีหัวสิว
ปัจจัยอื่น ๆ
นอกจากปัจจัยเหล่านี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดสิวที่หัวขึ้นได้ เช่น พันธุกรรม ความเครียด อาจกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิวได้ การเสียดสีจากการสวมหมวกหรือผ้าโพกศีรษะที่รัดแน่น จนทำให้ระคายเคือง และการกินอาการที่มีไขมันสูง หรือผลิตภัณฑ์จากนม ทำให้สิวมีอาการรุนแรงขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงกระตุ้นให้เกิดสิวที่หัว
ผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผม
แชมพูและครีมนวดผม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจมีสารเคมีบางชนิดทำให้เกิดการระคายเคือง และอุดตันรูขุมขน รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม เช่น เจล สเปรย์ที่มีสารเคมีอาจทำให้เกิดการอุดตันและสิวขึ้นได้
การดูแลสุขอนามัยของเส้นผมและหนังศีรษะไม่ดี
เมื่อไม่ได้การไม่รักษาความสะอาดเส้นผมและหนังศีรศะให้ดีพอ หรือไม่ล้างเส้นผม และหนังศีรษะบ่อยพอ ทำให้มีน้ำมัน และสิ่งสกปรกสะสม เกิดเป็นสิวขึ้นมาได้
ความอับชื้น
เส้นผมที่ปิดกั้นการระบายอากาศ ทำให้เหงื่อ และน้ำมันสะสมในรูขุมขน จนทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน และอาจทำให้เกิดสิวที่หัวขึ้นได้
การสัมผัสหรือการขยี้สิว
มือที่มักจะเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อนำไปสัมผัสและขยี้สิว อาจทำให้การติดเชื้อแย่ลงและทำให้สิวอักเสบ
อุปกรณ์ที่สัมผัสกับศีรษะ
การสวมหมวก หรือหมวกกันน็อกที่ไม่สะอาด หรือใส่เป็นเวลานาน การใช้ผ้าขนหนูที่ไม่ได้ซักบ่อย ๆ เช็ดผม อาจทำให้เกิดสิวจากการเสียดสี และการสะสมของเหงื่อขึ้นได้
อาการและผลข้างเคียงที่มักเกิดร่วมกับสิวที่หัว
อาการคันและระคายเคือง
สิวที่หัวมักมาพร้อมกับอาการคัน และระคายเคือง ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่ไม่ควรเกาหนังศีรษะ เพราะการเกาหนังศีรษะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และการอักเสบมากขึ้น ทำให้เป็นสิวที่หัวรุนแรงกว่าเดิม
อาการบวมและแดง
ตุ่มสิวบนหนังศีรษะมักจะมีลักษณะบวมและแดง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของรูขุมขน การอักเสบนี้อาจทำให้สิวดูโดดเด่นและเจ็บปวดมากขึ้น
การติดเชื้อ การขยี้ หรือเกาสิว
พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดแผล และการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้สิวแย่ลง และเกิดการติดเชื้อที่รุนแรง โดยการติดเชื้อนี้อาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของหนังศีรษะได้
ผมร่วง
ในบางกรณี สิวที่หัวอาจทำให้เกิดการสูญเสียเส้นผมในบริเวณที่มีสิว เนื่องจากการอักเสบและการระคายเคืองที่รุนแรง ซึ่งอาการผมร่วงอาจเป็นชั่วคราวหรือถาวร ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิวที่เกิดขึ้นและรูปแบบการรักษาด้วย
รอยแผลเป็น
หากสิวมีการอักเสบและติดเชื้อซ้ำ ๆ อาจทิ้งรอยแผลเป็นไว้บนหนังศีรษะ ซึ่งรอยแผลเป็นนี้อาจทำให้ผิวหนังดูไม่เรียบเนียน และมีลักษณะเป็นรอยดำหรือรอยแดง
วิธีรักษาสิวที่หัว
1.รักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ
วิธีที่หนึ่งที่สำคัญในการรักษาสิวที่หัว ก็คือการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ โดยในประเทศไทยที่อากาศร้อนและชื้น จึงควรดูแลรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะเป็นพิเศษ ควรสระผมให้ถูกต้อง และไม่ควรสระผมบ่อยจนเกินไป ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และควรสระผมด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ เพื่อคงสมดุลของหนังศีรษะเอาไว้
2.ไม่แกะ หรือเกาสิวที่เกิดขึ้นบนหัว
การบีบ แกะ เกา เป็นการกระตุ้นทำให้สิวอักเสบมากขึ้น และจะทำให้กนังศีรษะเป็นแผล ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปใต้ผิวทำให้เกิดการอักเสบได้มากขึ้น รวมไปถึงเมื่อสิวที่หัวหายแล้วยังเสี่ยงเป็นหลุมสิวอีกด้วย ถ้ารู้สึกคันศีรษะแนะนำให้ใช้วิธีตบหัวบริแวณที่คันเบา ๆ หรือใช้ครีมแต้มสิวเพื่อบรรเทาอาการอักเสบหรือคันแทน
3.เลือกใช้แชมพูที่มีส่วนประกอบที่ช่วยดูแลหนังศีรษะ
สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นสิวที่หัวมากและไม่รุนแรง สามารถเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่เพิ่มความชุ่มชื้น เพื่อรักษาสมดุลของน้ำมันบนหนังศีรษะ และไม่ทำให้หนังศีรษะแห้ง หรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันอะโวคาโด น้ำมันโจโจบา ออยล์ สะระแหน่ โรสแมรี่ ชาเขียว และ Tea tree oil ฯลฯ ที่ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยลดแบคทีเรียและเชื้อราได้
- Lyo ไลโอ แชมพู เคฟเฟอร์ ไลม์ เฮอร์เบิล ปรับสมดุลหนังศีรษะ พร้อมบำารุงเส้นผม ทำความสะอาดเส้นผมได้เป็นอย่างดี
- AloEx อโลเอ็กซ์ เอ็กซ์ตร้า มายด์ แชมพู แชมพูสูตรอ่อนโยนพิเศษ สำหรับผู้ที่มีหนังศีรษะบอบบาง แพ้ง่าย ช่วยลดการขาดร่วงของเส้นผม สกัดจากสมุนไพรกว่า 30 ชนิด
4.หลีกเลี่ยงการบีบ แกะ เกา สิวที่หัว
การบีบ แกะ เกา นั้นเป็นการกระตุ้นการอักเสบ รวมไปถึงมือที่มักจะเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่าง ๆ เมื่อนำไปสัมผัสและขยี้สิว อาจทำให้การติดเชื้อแย่ลง และทำให้สิวอักเสบกว่าเดิมได้ วมไปถึงเมื่อสิวที่หัวหายแล้วยังเสี่ยงเป็นหลุมสิวอีกด้วย
5.ควรหวีผมเบาเพื่อนวดหนังศีรษะ
อย่างที่บอกว่าการขยี้สิว หรือการหวีผมแรง ๆ มีทำให้สิวเกิดการอักเสบและรุนแรงขึ้นกว่าเดิม จึงควรหวีผมเบา ๆ เพื่อนวดหนังศีรษะ กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เซลล์ผิวที่ตายบนหนังศีรษะหลุดออก ไม่เกิดการสะสมของสิ่งสกปรกจนเกิดสิว
6.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มีส่วนช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะจากภายใน ลองเลือกทานอาหารที่มีสารอาหารช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ เช่น ผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอ ได้แก่ แครอท ฟักทอง ผักใบเขียว วิตามินบี 3, 5, 7, 8, 12 มีอยู่ในกลุ่มเนื้อสัตว์จำพวกปลา กุ้ง เครื่องใน ไข่แดง และธัญพืช เป็นต้น
7.การรักษาสิวที่หัวด้วยการใช้ยา
การรักษาสิวที่หัวด้วยการใช้ยา เป็นกรณีการรักษาที่จะใช้เมื่ออาการของสิวเกิดการอักเสบ และติดเชื้ออย่างรุนแรง รักษาด้วยตัวเองไม่หาย ซึ่งการใช้ยารักษาสิวที่หัวควรปรึกษาแพทย์ หรืออยู่ในการดูแลของแพทย์ จะหายไวกว่าการใช้ยารักษาสิวที่พยายามรักษาด้วยตนเอง
สิวที่หัว ถึงแม้จะเป็นสิวที่ขึ้นในบริเวณที่ดูแลและรักษาได้ค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาที่ร้ายแรงอันตรายมากนัก และสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะ ไม่ทำให้ศีรษะเกิดความอับชื้น รวมไปถึงควรเลือกผลิตภัณฑ์สำหรับเส้นผมและหนังศีรษะที่มีความอ่อนโยน เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันจนเกิดสิว
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.theoneclinicofficial.com/acne-on-the-head/
คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ
- 15 สุดยอด ครีมกันแดดญี่ปุ่น ยอดนิยม ติดชาร์จตัวดังใช้ดี
- สิวที่หัวเป็นตุ่มสาเหตุคืออะไร รักษาอย่างไรดี
- ผื่นโรคผิวหนังคันเป็นวง เป็นสาเหตุของโรคอะไรได้บ้าง
- Glass Skin คืออะไร? เผยเคล็ดลับสร้างผิวกระจก ฉ่ำโกลว์ เนียนใส
- วิธีรักษารอยดําจากสิวเร็วที่สุด รักษาอย่างไรดีให้เห็นผลจริง