สิว สภาพผิวที่เกิดจากการอุดตันด้วยน้ำมัน และเซลล์ผิวที่ตายแล้วภายในต่อมไขมันใต้ระดับรูขุมขน สามารถเกิดขึ้นได้ตามที่ต่าง ๆ ของร่างกายในบริเวณที่มีรูขุมขน รวมถึงสิวในหูก็สามารถเป็นได้ ซึ่งถ้าใครเคยเป็นสิวที่หูมาแล้ว น่าจะพอรู้ว่าเป็นส่วนที่ปวดสุด ๆ เวลาสิวในหูขึ้น แถมเป็นบริเวณที่ค่อนข้างดูแลยากด้วย แล้วเราควรดูแลรักษาใบหูยังไง เพื่อไม่ให้เป็นสิวที่หู ลองตามไปดูกันต่อในบทความได้เลย
สาเหตุของการเกิดสิวในหู
สาเหตุของการเป็นสิวที่หู ส่วนใหญ่สิวในหูเกิดจากการอุดตันของรูขุมขน โดยมีส่วนผสมของเซลล์ผิวหนัง เชื้อแบคทีเรีย และน้ำมัน (sebum) ซึ่งเป็นสารที่ผลิตโดยต่อมไขมัน (sebaceous gland) ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นบริเวณใบหู หรือช่องหูชั้นนอก นอกจากนั้นก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนกระตุ้นทำให้เกิดสิวที่หูขึ้นได้ เช่น
สิวในหูจากการอาบน้ำ หรือเจอกับน้ำที่ไม่สะอาด
ใบหู เป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่ไม่ควรละเลยเวลาอาบน้ำ เพราะอาจจะมีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ตามซอกใบหู ส่งผลให้เกิดการอุดตันจนเป็นสิวในหูขึ้นมาได้ จึงควรล้างใบหูให้สะอาดหมดจด ส่วนใครที่ล้างใบหูด้วยสบู่ หรือโฟมล้างหน้า แนะนำให้เช็ด หรือล้างเอาฟองออกให้หมด เพื่อไม่ให้เกิดการอุดตัน และเกิดเป็นสิวที่หู
สิวในหูจากแบคทีเรีย
แบคทีเรีย เป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญที่ทำให้เป็นสิวที่หู เมื่อมีสิ่งสกปรก หรือแบคทีเรียสะสมอยู่เยอะทั้งบริเวณนอกหู และในหู จะทำให้บริเวณหูเกิดการอักเสบ และติดเชื้อกลายเป็นสิวในหูขึ้นมา ซึ่งแบคทีเรียสามารถทำให้กลายเป็นสิวอักเสบขึ้นได้ด้วย
สิวในหูจากรูขุมขนอุดตัน
บริเวณใบหูก็เป็นอีกหนึ่งบริเวณที่มีรูขุมขน จึงทำให้สามารถเกิดการอุดตันของรูขุมขนในบริเวณหูได้ จากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ไขมัน สิ่งสกปรกรวมตัวกัน และทำให้เกิดสิวอุดตันประเภทต่าง ๆ ตามมาได้ จึงควรทำความสะอาดใบหูให้สะอาดหมด เพื่อเลี่ยงการอุดตันที่ผิว
สิวในหูจากการแพ้แชมพูสระผม ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
แชมพูสระผม ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาจมีสารเคมีบางตัวที่ก่อให้เกิดการอุดตัน ทำให้ระคายเคือง หรือทำให้แพ้ จนเกิดเป็นสิวที่หู เช่น สิวหนอง สิวอักเสบ จึงควรเลี่ยงแชมพูสระผม ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยนแทน
สิวในหูจากฮอร์โมน
สิว สามารถเกิดได้จากฮอร์โมนที่แปรปรวน หรือเปลี่ยนแปลงไป เมื่อร่างกายมีระดับฮอร์โมนที่ไม่คงที่จะกระตุ้นให้เกิดสิวได้หลาย ๆ ชนิด ทั้งสิวอุดตัน และสิวอักเสบ สาเหตุจากมีฮอร์โมนเพศชายในร่างกายมากเกินไป ซึ่งมักเรียกสิวที่เกิดจากการแปรปรวนของฮอร์โมนว่า สิวฮอร์โมน
สิวในหูจากความเครียด
เมื่อเราเกิดความเครียด นอกจากจะทำให้ฮอร์โมนเราเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวในหูขึ้นได้แล้ว เมื่อเกิดความเครียด อาจทำให้ร่างกายหลั่งเหงื่อออกมามากเกินไป หรือทำให้ฮอร์โมนที่ช่วยในการผลิตน้ำมันในร่างกายทำงานผิดปกติ และเกิดสิวในหูขึ้นได้
สิวในหูจากของที่ใช้กับหู
สิ่งของที่ใช้กับบริเวณหู อย่างหูฟัง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในของใช้ที่มีสิ่งสกปรกสะสมอยู่มาก บางคนอาจจะลืมทำความสะอาดหูฟัง หรือปล่อยไว้ไม่ได้ทำความสะอาดบ่อย ๆ เมื่อใส่เข้าไปในหูก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งสกปรกสะสมจนเป็นสิวในหูขึ้นได้ หรือหมอนที่ใช้นอน ไม่ได้ทำความสะอาดบ่อย ก็สามารถทำให้เกิดสิวในหูขึ้นได้

สิวที่หูบอกโรคอะไรได้บ้าง ?
ในปัจจุบันยังไม่มีการวิจัยที่แน่ชัดว่าการเกิดสิวในหูสามารถบ่งบอกโรคได้ แต่ก็สามารถคาดคะเนจากอาการได้ เช่น ถ้าหากเป็นสิวที่หู อาจมีปัญหาเกี่ยวกับไตได้ เช่น ไตทำงานได้ไม่ดีพอ ไม่สามารถขับของเสีย สารพิษ ที่อยู่ในร่างกายออกมาได้ดีเท่าปกติ
ส่วนถ้าสิวในหูมีอาการบวม อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีการติดเชื้อที่มาจากแบคทีเรีย สามารถเกิดขึ้นในหู หรือแม้แต่ขอบหู และจะระบายของเสียของเชื้อแบคทีเรียออกมาเป็นคราบหรือน้ำหนองร่วมด้วย และในบางกรณีสิวในหูอาจเป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบ การติดเชื้อในชั้นใต้ผิว (cellulitis) การติดเชื้อในกระดูก (osteomyelitis) การติดเชื้อในกระเพาะลม (mastoiditis) เป็นต้น
วิธีการรักษาสิวในหู
ทำความสะอาดรอบใบหู ด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่น
ใบหูที่ไม่ได้ทำความสะอาดอาจจะมีสิ่งสกปรกตกค้าง มีแบคทีเรียสะสมอยู่ตามซอกใบหู ส่งผลให้เกิดรูขุมขนอุดตันจนเป็นสิวที่หูขึ้นมาได้ เวลาอาบน้ำ แนะนำให้ทำความสะอาดรอบใบหูให้หมดจด ด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่น เพื่อเลี่ยงการเกิดการระคายเคือง และอุดตัน
- D-Nee ดีนี่ เบบี้ วอช ออร์แกนิค เฮด แอนด์ บอดี้ : สบู่เหลวอาบน้ำ และสระผม อ่อนโยนจากสารสกัดธรรมชาติ 7 ชนิด pH Balance ล้างออกง่าย
- Aveeno อาวีโน่ เบบี้ วอช แอนด์ แชมพู : ช่วยรักษาความชุ่มชื่นไม่ให้ผิวแห้งตึง อ่อนโยนต่อดวงตาไม่ต่างจากน้ำ ไม่มีส่วนผสมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการระคายเคืองผิว
ประคบร้อนที่หู
การประคบอุ่น หรือแผ่นประคบร้อน อาจจะช่วยลดอาการอักเสบ และการระคายเคืองลงไปได้ และสามารถทำให้สิวในหูนิ่มลง มีหนองขึ้นมาบริเวณบนผิวได้ด้วย แนะนำให้ทำความสะอาดหนอง หรือสิ่งที่ไหลออกมาจากสิวในหู และล้างบริเวณนั้นเบา ๆ ด้วยน้ำเกลือ หรือแอลกอฮอล์ล้างแผล
งดแกะ บีบสิวที่หู
ถ้าเกิดเป็นสิวที่หู ไม่แนะนำให้แกะ หรือบีบสิวในหูเอง เพราะมือที่ไม่สะอาดอาจจะมีเชื้อโรค สิ่งสกปรก แบคทีเรียสะสมอยู่ เมื่อนำไปสัมผัสกับสิวในหูอาจจะทำให้สิวในหูระคายเคืองมากกว่าเดิม จนกลายเป็นสิวอักเสบรุนแรงอย่างสิวหัวช้างได้ หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และแผลเป็นขึ้นได้ด้วย
ฉีดสิวที่หู
สำหรับคนที่มีปัญหาสิวในหูเป็นก้อนแข็ง ๆ เช่น สิวไต สิวหัวช้าง การฉีดสิวในหูอาจจะเป็นอีกหนึ่งในวิธีรักษา โดยจะใช้สารสเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในจุดที่เป็นสิว จากนั้นสิวก็จะค่อย ๆ นิ่มลง และยุบหายไป ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วันในการรักษาสิวในหูจนหายเป็นปกติ
แผ่นแปะสิวในหู
สำหรับใครที่เป็นสิวที่หูแบบอักเสบ มีสิวหนองที่หู สามารถรักษาโดยการใช้แผ่นแปะสิว โดยใช้แผ่นแปะสิวแปะเข้าไปในบริเวณสิวในหูได้ คุณสมบัติของแผ่นแปะสิวจะช่วยป้องกันไม่ให้สิวอักเสบมากขึ้น และจะช่วยดูดหนองออกจากสิวในหู ทำให้สิวแห้ง และหายไปเอง
- derma angel เดอร์ม่า แองเจิ้ล แผ่นซับสิวแบบมิ๊กซ์ : แผ่นซับสิวเดอร์มาแองเจิ้ล ปกปิดแนบสนิท ซับสิวทันที เผยผิวเรียบเนียน
- 3M Nexcare เน็กแคร์ แผ่นดูดซับสิว รุ่นขอบบาง : แผ่นซับสิวผลิตจากสารไฮโดรคอลลอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับของเหลวออกจากสิว และสามารถระบายอากาศได้ดี
ใช้ยารักษาสิวในหู
สำหรับสิวหัวช้าง หรือสิวในหูที่อักเสบรุนแรง อาจจะใช้ยารักษาสิวช่วยในการรักษา ซึ่งควรมีส่วนผสมของ Tretinoin, Glycolic acid, Salicylic acid, Benzoyl peroxide, Antibiotics ที่ช่วยลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อสิวที่อยู่ในหูได้ดี และควรใช้ยาภายใต้การแนะนำของแพทย์และเภสัช
- Klean & Kare คลีนแอนด์แคร์ แอนติ เอคเน่ เจล : เจลแต้มสิว สามารถดูแล รักษาสิวได้ทุกประเภท สามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิว
- Hiruscar ฮีรูสการ์ แอนตี้ แอคเน่ แอดวานซ์ สปอต เจล : เจลแต้มสิว ลดการสะสมของแบคทีเรีย ลดการอุดตันรูขุมขนด้วยสารสกัดจากพืชธรรมชาติหลายชนิด

วิธีป้องกันการเกิดสิวในหู
ควรล้างหู อย่างน้อยวันละครั้งด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่น
ใบหู เป็นจุดที่มักจะลืมทำความสะอาดอยู่บ่อย ๆ เลยทำให้เกิดการสะสมของสิ่งสกปรก และแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดสิวในหูขึ้นได้ จึงควรดูแลความสะอาดของใบหูอยู่เสมอ ด้วยการล้างหูวันละครั้ง ด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่นระหว่างอาบน้ำ เพื่อลดการสะสมของความมัน เหงื่อ เซลล์ผิวหนังที่ตาย และแบคทีเรีย
ทำความสะอาดของที่ใช้กับหู อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ของที่ใช้กับหู เช่น หูฟัง ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ ถ้าเกิดไม่ได้ทำความสะอาดนาน ๆ จะเป็นการสะสมของสิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรีย เมื่อสัมผัสโดนผิวบริเวณก็อาจจะทำให้เกิดการสะสม อุดตัน ทำให้เกิดสิวในหูขึ้นได้ จึงควรทำความสะอาดของใช้อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เลี่ยงไขมันสูง
การทานอาหารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนทำให้เกิดสิวในหูขึ้นได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขนมที่มีครีม ไอศกรีม ของทอด ของมัน อาหารฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ จะเป็นการกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้ผิวมัน ทำให้เกิดสิวในหูได้ ลองเปลี่ยนมาทานเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช และปลา ฯลฯ เพื่อช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของไขมัน
ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
การดื่มน้ำเป็นการช่วยเติมน้ำให้ผิว ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นเพียงพอ เมื่อผิวหนังมีความชุ่มชื้น จึงมีสมดุลที่ดี และทำให้ผิวแข็งแรง มีส่วนช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกันผิวให้ทำงานได้ดี ลดโอกาสการเกิดสิวในหูไปได้ด้วย แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน ประมาณ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน
หลีกเลี่ยงการจับ หรือสัมผัสหูบริเวณที่เป็นสิว
การจับ หรือสัมผัสบริเวณที่เป็นสิวในหู จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้สิวอักเสบมากขึ้น และทำให้สิวใบหูที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงกว่าเดิม และนอกจากการสัมผัส ไม่ควรแกะ หรือบีบสิวในหูด้วย เพราะจะทำให้สิวอักเสบ และเป็นสิวที่รุนแรงกว่าเดิม เช่น สิวหัวช้าง
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน
ปัจจัยหนึ่งที่เป็นการกระตุ้นให้เกิดสิวในหูได้ ก็คือการแพ้แชมพูสระผม ครีมนวด หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาจมีสารเคมีบางตัวที่ก่อให้เกิดการอุดตัน ทำให้ระคายเคือง หรือทำให้แพ้ จนเกิดเป็นสิวที่หู จึงควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของพาราเบน และซิลิโคน และเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน และมีค่า pH ที่ใกล้เคียงกับผิวแทน

สิวในหู บีบได้ไหม ?
เมื่อเป็นสิวที่หู ไม่แนะนำให้แกะ หรือบีบสิวออก หรือแม้แต่การสัมผัสสิวในหูด้วยก็ตาม เนื่องจากมือที่ไม่สะอาด อาจจะเชื้อโรค สิ่งสกปรก แบคทีเรียสะสมอยู่ เมื่อนำไปสัมผัสกับสิวในหูอาจจะทำให้สิวในหูระคายเคืองมากกว่าเดิม จนกลายเป็นสิวอักเสบรุนแรงอย่างสิวหัวช้างได้ หากมีการอักเสบมาก แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาตามอาการต่อไป
ทำความเข้าใจกับปัญหาการเกิดสิวในหูมาแล้ว พอจะรู้แล้วว่าสิวในหูมีสาเหตุมาจากอะไร และเราสามารถดูแลรักษา และป้องกันการเกิดสิวในหูยังไงได้บ้าง ด้วยการรักษาความสะอาดใบหู ทำความสะอาดของที่ใช้กับหู การปรับเปลี่ยนการกิน รวมไปถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดสิวในหูลงไปได้ด้วย
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.eucerin.co.th/about-skin/derms-articles/pimple-in-ear?srsltid=AfmBOoq6a6fgC5HIsCiV4kYNnfPxekSFrxw9t8W3PG9odwPpHegyB3Rm
https://patchaclinic.com/ears-acne/
https://www.pobpad.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B9-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3
คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ
- สารต้านอนุมูลอิสระ Antioxidants คืออะไร ดีต่อผิวอย่างไรบ้าง
- สาเหตุหลัก ปัญหาการเกิดสิวในหูมีอะไรบ้าง ?
- 10 ครีมและโลชั่นน้ำหอม ผิวหอมติดทนนาน ไม่ง้อเพอร์ฟูม
- สําลีเช็ดหน้า ยี่ห้อไหนดี เช็ดเครื่องสำอางไม่เป็นขุย ไม่บาดผิว
- 10 สเปรย์กันแดด ยี่ห้อไหนดี พกง่าย กันแดดได้ทั้งวัน