โหลดแอปฯ
ดาวน์โหลด:
สแกนเพื่อดาวน์โหลดแอปวัตสัน
  • google-play.png
  • app-store.png
  • app-gallery.png
ค้นหาร้านค้า บทความน่าอ่าน
Watsons Services
0
ตะกร้า
Share

‘อาการเวียนศีรษะ’ เป็นหนึ่งในอาการทางร่างกายที่หลาย ๆ คนอาจจะไม่อยากพบเจอกับตนเอง เพราะเป็นอาการที่จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว พะอืดพะอม และยังต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าจะฟื้นตัว และทำให้รู้สึกกลับมาปกติได้  แต่ทั้งนี้ ‘อาการเวียนศีรษะ’ ก็เป็นตัวบ่งชี้ถึงความผิดปกติของร่างกาย เป็นเหมือนสัญญาณเตือนว่าร่างกายอาจจะมีความผิดปกติบางอย่าง หากใครกำลังประสบปัญหาวิงเวียนศีรษะระหว่างวัน ‘วัตสัน’ จะชวนมา recheck หาสาเหตุอาการวิงเวียนศีรษะ พร้อมเสิร์ฟว่าเวียนหัวกินอะไรหาย ว่ารับรองว่าช่วยได้แน่นอน

อาการปวดหัว (Headache) หรือปวดศีรษะ คือ?

อาการปวดหัวตื้อ ๆ หนัก ๆ เป็นลักษณะอาการปวดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบริเวณศีรษะ ซึ่งการปวดหัวมีอาการหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ปวดตื้อ ๆ ปวดแปล๊บ ๆ ปวดตุบ ๆ หรือปวดจี๊ด ๆ เนื่องจากสาเหตุของปวดหัวมีได้หลากหลาย ตั้งแต่ความเครียด กล้ามเนื้อตึงตัว ไปจนถึงโรคที่รุนแรงกว่า เช่น เนื้องอกในสมองขึ้นได้ อาการปวดหัวบางชนิดอาจมีสาเหตุจากโรคร้ายแรงในสมองที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อมีอาการปวดหัวที่รุนแรง แนะนำให้ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด

สาเหตุของอาการเวียนหัวระหว่างวัน

พักผ่อนไม่เพียงพอ

แน่นอนว่าปัจจุบันเราต้องทำงานแข่งกับเวลา ในเมื่อเวลาเท่าเดิมแต่งานมีมากขึ้น ก็อาจจะส่งผลให้การทำงานเบียดบังเวลานอน เมื่อร่างกายนอนไม่เพียงพอจะส่งผลให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนความเครียด ส่งผลให้อารมร์แปรปรวน เวียนหัว ไปจนถึงอาการไมเกรนได้

ความเครียด และวิตกกังวล

ดังเช่นที่กล่าวข้างต้น เมื่อร่างกายเกิดภาวะเครียดก็จะส่งผลกับการหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่จะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และทำให้หลอดเลือดตีบตันมากขึ้น จึงส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปที่สมองทำได้ยาก ซึ่งก่อให้เกิดอาการมึนหัวตื้อ ๆ แก้ยังไงก็ไม่หายซักที

ร่างกายขาดน้ำ

เมื่อร่างกายขาดน้ำมากจนเกินไป นอกจากจะส่งผลกระทบต่อผิวพรรณอย่างที่เคยกล่าวไปในบทความก่อน ๆ แล้ว เมื่อร่างกายขาดน้ำจะทำให้ภายในร่างกายอุณหภูมิสูงขึ้น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะขาดน้ำ โดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือด เลือดก็จะข้นเหนียวขึ้น ทำให้เกิดภาวะความดันเลือดสูง ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกเวียนหัวได้

การใช้สายตาอย่างหนัก

ทำงานก็อยู่หน้าจอ ทานข้าวก็ยังดูจอ แทบจะตลอดเวลาเรามักจะติดกับการมองจออยู่เสมอ ซึ่งการใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานานโดยไม่พักเลย ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัวได้

ภาวะผิดปกติของร่างกาย

ที่จริงแล้วอาการเวียนหัวนั้นสามารถเป็นข้อบ่งชี้ถึงภาวะที่ผิดปกติร้ายแรงต่อร่างกายได้มาก ไม่ว่าจะเป็นไมเกรน, โรคโลหิตจาง, ความผิดปกติของหูชั้นใน, ความผิดปกติของสมอง, เบาหวาน รวมไปถึงความผิดปกติของหัวใจ และหลอดเลือด ดังนั้นหากเกิดอาการเวียนหัวระหว่างวันบ่อย ๆ แนะนำว่าควรพบแพทย์ดีที่สุด

อาการเวียนหัว

อาการปวดหัว มีกี่ประเภท

การปวดแบบปฐมภูมิ

  • ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension-type headaches) 

อาการปวดหัวตื้อ ๆ หนัก ๆ ที่เกิดจากความเครียด การทำงานหนัก และการพักผ่อนไม่เพียงพอ มักจะมีลักษณะอาการปวดหัวทั้งสองข้างแบบรัดรอบศีรษะ หรือปวดที่ขมับร้าวไปที่ท้ายทอย ตั้งแต่ 30 นาทีจนถึงหลายวัน และมักมีอาการในช่วงบ่ายหรือเย็น

  • ปวดหัวไมเกรน (Migraine headaches) 

อาการปวดหัวที่มีสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง หรือหลอดเลือดบริเวณศีรษะขยายตัวผิดปกติ ลักษณะอาการปวดหัวแบบตุบ ๆ คล้ายจังหวะการเต้นของชีพจร โดยมีอาการปวดหัวในระดับปานกลางถึงรุนแรง และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน ตาสู้แสงไม่ได้ หรือชาตามร่างกายร่วมด้วย มีระยะเวลาการปวดตั้งแต่ 4 ชั่วโมงไปจน 3 วัน

  • ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster headaches)

อาการปวดหัวที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 และเส้นเลือดโดยรอบรวมถึงปฏิกิริยาเคมีในสมอง มีลักษณะอาการปวดหัวข้างเดียวอย่างรุนแรง ปวดแปล๊บ ๆ ปวดตุบ ๆ เป็นระยะจนน้ำตาไหล เหงื่อออก หนังตาตก และรูม่านตาหด รวมถึงมีอาการปวดหัวเป็นชุด ๆ 1-3 ครั้งต่อวันนานตั้งแต่ 2 สัปดาห์จนถึง 3 เดือนจากนั้นอาการปวดหัวจึงหายไป

  • ปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (New daily persistent headaches: NDPH)

อาการปวดหัวแบบฉับพลันทั้งสองข้าง หรือข้างเดียวแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีภาวะตาสู้แสงไม่ได้คล้ายกับอาการปวดหัวไมเกรน เป็นอาการปวดหัวแบบที่พบได้น้อยมาก และไม่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจเกิดจากการอักเสบภายในโครงสร้างรอบศีรษะ การติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด ฯลฯ แนะนำให้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยการแพทย์ผู้ชำนาญการ


การปวดหัวแบบทุติยภูมิ

  • ปวดหัวไซนัส (Sinus headaches)

อาการปวดหัวตื้อ ๆ หนัก ๆ ทั่วทั้งใบหน้าตามบริเวณโพรงไซนัส เช่น หน้าผาก ดั้งจมูก กระบอกตา เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไข้หวัด โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา สำหรับคนที่มีอาการปวดหัวไซนัสมักจะมีอาการปวดหัวชัดเจนเมื่อก้มศีรษะ หรือก้มตัว อาจมีไข้ ใบหน้าบวม มีเสมหะ และน้ำมูกไหลร่วมด้วย

  • ปวดหัวแบบสายฟ้าฟาด (Thunderclap headache)

อาการปวดหัวแบบฉับพลัน รุนแรงที่เกิดขึ้นแบบกะทันหันโดยไม่มีสัญญาณเตือน อาจเป็นอาการนำที่นำไปสู่ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ร้ายแรง เช่น เลือดออกในสมอง หลอดเลือดสมองหดตัว หรือหลอดเลือดดำสมองอุดตัน

อาการมึนหัวตื้อ ๆ

10 วิธี ปวดหัวตื้อ ๆ หนัก ๆ วิธีแก้บื้องต้น


1.นั่งหรือนอนนิ่ง ๆ

เมื่อรู้สึกปวดหัวที่ไม่หนักมาก แนะนำให้นอนพัก และอยู่ในที่เงียบ สงบ แสงไม่จ้าจนเกินไป หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ และอาจจะรับประทานยาแก้ปวดชนิดที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น Naproxen, Ibuprofen หรือรับประทานยาแก้ปวดไมเกรน เช่น กลุ่ม Ergot, Triptans แต่ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ด้วย

2.ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การที่ร่างกายขาดน้ำคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดหัวได้ด้วย ถ้าหากในชีวิตประจำวันไม่ได้ดื่มน้ำให้เพียงพอ หรือปกติดื่มน้ำน้อย ลองดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดให้มากขึ้น หรือดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน ประมาณ 8 แก้ว หรือ 2-3 ลิตรต่อวัน

3.หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นอาการมึนหัว

ปัจจัยบางอย่าง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ สารก่อภูมิแพ้ อาหารเค็ม หรือสารคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม กาแฟ และการสูบบุหรี่ ฯลฯ มีส่วนทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้นได้ จึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านี้ 

4.เครื่องดื่ม หรือลูกอมอาจช่วยได้

เมื่อเกิดจากภาวะขาดน้ำตาลในเลือด หรือมีความเครียด มักจะทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้นได้ เครื่องดื่มหรือลูกอมอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้บ้าง ลองจิบน้ำหวาน น้ำผลไม้ หรืออมลูกอม เพื่อให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า หรืออาจดื่มชาสมุนไพร เช่น ชาขิง ที่ช่วยแก้อาการมึนหัวก็ได้

  • Propoliz โพรพอลิส ชนิดเม็ดอม พลัส รสน้ำผึ้ง มะนาว และขิง เม็ดอมโพรโพลิซสำหรับช่องปาก และลำคอ อมได้บ่อยตลอดวัน และไม่ระคายเคืองเพดานช่องปาก ไม่แสบลิ้น และไม่แสบคอ รสชาติกลมกล่อม ชุ่มคอยาวนาน หอมเย็นสดชื่น
  • ยูสไมล์ 101 ผงขิงทอง ชนิดชงดื่ม ช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกัน, ลดอาการอักเสบ, บรรเทาอาการต่างๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ, ช่วยในการย่อยอาหาร, ลดความอยากอาหาร, บรรเทาอาการปวดประจำเดือน, ไมเกรน, คลื่นไส้

5.กายบริหารด้วยวิธี Epley Maneuver

การบริหารกายด้วยวิธี Epley Maneuver จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวที่เกิดจากตะกอนหินปูนหลุดในหูชั้นใน (BPPV) โดยการเคลื่อนย้ายผลึกแคลเซียมให้กลับสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม  เป็นการรักษาที่ได้ผลดีสำหรับอาการเวียนศีรษะจาก BPPV ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหัว

โดยวิธีการบริหารให้นอนหงายลงอย่างรวดเร็ว โดยให้ไหล่วางบนหมอนที่เตรียมไว้ ค้างอยู่ในท่าเอียงศีรษะเช่นเดิมค้างไว้ 30 วินาที หันหน้าไปทางขวา 45 องศา หรือเท่ากับหันจากตำแหน่งเดิม 90 องศา ทำค้างไว้อีก 30 วินาทีโดยยังไม่ยกศีรษะขึ้น

6.กายบริหารด้วยวิธี Semont-Toupet Maneuver

กายบริหาร Semont-Toupet Maneuver ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดหัวที่เกิดจากปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นใน เช่น โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด ด้วยการนั่งข้างเตียง ศีรษะหันไปด้านข้างที่ไม่มีอาการ 45 องศา จากนั้นเอนตัวลงนอนพร้อมกับหันศีรษะเฉียงขึ้นอย่างรวดเร็ว ค้างนาน 1 – 2 นาที แล้วพลิกตัวเอนไปด้านตรงข้ามอย่างรวดเร็ว พร้อมกับหันศีรษะเฉียงลงด้านล่าง ค้างนาน 1 – 2 นาที เมื่อครบแล้วให้ลุกขึ้นนั่งช้า ๆ

7.พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย เป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว จึงควรมีการพักผ่อนที่เหมาะสมควรมีระยะเวลา 7-8 ชั่วโมงต่อคืน และควรเข้านอน และตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน เพื่อให้ร่างกายชินกับการนอนเวลาเดิม และบรรเทาอาการปวดหัวที่เกิดขึ้น

8.รับมือกับความเครียด

ความเครียดสามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้นได้ จากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ และคอ การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน และการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง ทำให้รู้สึกแน่นหรือกดดันบริเวณศีรษะ หากมีความเครียดแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวด ประคบเพื่อคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ จัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิตเป็นประจำ เพื่อลดความเครียดให้เกิดน้อยลง

9.กินอาหารที่มีประโยชน์

การกินอาหารที่มีประโยชน์มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ โดยเฉพาะการกินอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น แตงโม ธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียวเข้ม และถั่ว รวมถึงการกินอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน วอลนัท และเมล็ดเจีย หรืออาหารเสริมสำหรับในคนที่มีปัญหาขาดสารอาหาร เช่น 

  • Swisse สวิสเซ แมกนีเซียม บรรเทาภาวะหดเกร็ง หรือเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และลดภาวะเครียด
  • Vistra วิตามินแมกนีเซียม วิสทร้า คอมเพล็กซ์ พลัส ช่วยเรื่องปวดไมเกรน, ป้องกันตะคริว, ลดภาวะเครียด, เสริมสร้างกล้ามเนื้อและระบบประสาท. นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 10.ใช้ยาที่หาซื้อได้เอง

การใช้ยาบรรเทาปวดหัวทั่วไป เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน หรือแอสไพริน สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะเบื้องต้นได้ สำหรับอาการปวดหัวไมเกรน อาจจำเป็นต้องใช้ยาเฉพาะเจาะจง เช่น ยาในกลุ่มทริปแทน แต่ควรระวังในการใช้ยามากเกินไป หรือใช้ยาไม่ถูกต้อง อาจทำให้ปวดหัวรุนแรงขึ้นได้

  • Tylenol ไทลินอล 500 มิลลิกรัม แผง10เม็ด เป็นยาแก้ปวด และลดไข้ที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดจากหลายสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะ, ปวดฟัน, ปวดประจำเดือน, และปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยลดไข้ได้ด้วย

อาการปวดหัวแบบไหนที่ควรพบแพทย์

  • ปวดหัวรุนแรงแบบฉับพลัน ทันทีทันใด 
  • ปวดหัวรุนแรงที่สุดในชีวิต
  • ปวดหัวร่วมกับมีอาการอื่น เช่น มีไข้ ชักเกร็ง ซึม สับสน พฤติกรรมเปลี่ยน แขนขาอ่อนแรง มีอาการชา การพูดมีปัญหา ใบหน้าหรือปากเบี้ยว หรือการมองเห็นผิดปกติ
  • ปวดหัวเรื้อรัง ปวดหัวบ่อย ๆ จนต้องทานยาแก้ปวดเป็นประจำ
  • ปวดหัวเฉพาะเวลาไอ หรือจาม
  • อาการปวดหัวที่เริ่มเกิดขึ้นใหม่หลังอายุ 50 ปี
  • อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

วิธีการป้องกันอาการปวดหัวหนัก ๆ ตื้อ ๆ  

1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายมีส่วนช่วยลดความตึงเครียด และช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง และยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดรอฟิน ที่เป็นสารบรรเทาอาการปวดตามธรรมชาติในร่างกายออกมาด้วย ลองวิ่งเหยาะๆ หรือออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ อยู่กับที่สัก 15 นาที อาจจะช่วยบรรเทาให้อาการปวดหัวดีขึ้น

2.พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวขึ้นได้บ่อย ๆ เนื่องจากการอดนอนอาจทำให้ระดับฮอร์โมนเครียดในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อหลอดเลือดในสมอง ทำให้ตีบตัน และเกิดอาการปวดหัว จึงควรควรมีการพักผ่อนที่เหมาะสมควรมีระยะเวลา 7-8 ชั่วโมงต่อคืน และควรเข้านอน และตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน

3.จัดการกับความเครียด

ความเครียดสามารถส่งผลให้ปวดหัวได้ เนื่องจากความเครียดอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ และคอหดเกร็งหรือตึงตัว กระตุ้นให้สมองหลั่งสารเคมีบางชนิดที่ทำให้หลอดเลือดในสมองบีบตัวหรือขยายตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว จึงควรจัดการกับความเครียดให้ดี ด้วยการออกกำลังกาย คลายเครียด นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด หางานอดิเรกทำ เพื่อโฟกัสกับสิ่งที่ชอบ รวมไปถึงคิดบวกให้มากขึ้น เป็นต้น

4.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว

สิ่งกระตุ้นจากภายนอกต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ เช่น แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นฉุน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ รวมไปถึงอาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแลต ผงชูรส หรืออาหารหมักดอง สำหรับคนที่มักเกิดอาการปวดหัว จึงควรเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้

5.ใช้สายตาอย่างเหมาะสม

การใช้สายตามากเกินไปอาจทำให้ปวดหัวได้ เช่น การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน การเพ่งมองงานที่ละเอียด หรือการใช้แว่นที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบดวงตา และคอต้องทำงานหนัก เพื่อโฟกัสและปรับตัวต่อภาพที่มองเห็น จึงควรพักสายตาเป็นระยะ ๆ โดยหลับตา หรือมองไปไกลๆ ทุก 20-30 นาที  ปรับระยะการมองให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ เช่น ไม่ควรนั่งใกล้จอคอมพิวเตอร์มากเกินไป รวมถึงควรใส่แว่นที่ตรงกับค่าสายตาที่ถูกต้องด้วย


9 เมนู เวียนหัวกินอะไรหาย

9 เมนู เวียนหัวกินอะไรหาย


1.มะม่วงเป็นเมนูแก้เวียนหัว

เวียนหัวกินอะไรหาย เมนูแรกที่จะนำมาเสนอกันก็คือมะม่วงเปรี้ยวรสจี๊ดจ๊าด ที่ความเปรี้ยวของมะม่วงจะช่วยลดความรู้สึกเวียนหัว และความพะอืดพะอมได้อย่างดี ความเปรี้ยวจากมะม่วงยังช่วยให้รู้สึกตื่นตัว และสดชื่นได้มากขึ้นด้วย หากถามว่าปวดหัวไมเกรนกินอะไรหายก็ต้องมะม่วงเลย

2.มะขามหนึ่งในเมนูแก้เวียนหัว

เวียนหัวกินอะไรหาย ไม่ว่าจะเป็นมะขามฝัก หรือมะขามคลุกรสเปรี้ยวเข็ดฟัน ก็สามารถเข้าลิสต์มาเป็นเมนูแก้เวียนหัวได้ทั้งนั้น เพราะความเปรี้ยวที่ช่วยให้รู้สึกหายเวียนหัวได้ดี และผลิตภัณฑ์จากมะขามก็ยังสามารถหาซื้อได้ง่ายพกได้ง่าย นี่จึงเป็นเมนูแก้เวียนหัวที่ดีมากทีเดียว

3.มะนาวอีกเมนูแก้เวียนหัว

นอกจากมะม่วง มะขาม เมื่อถามว่าเวียนหัวกินอะไรหาย การกินของที่มีรสชาติเปรี้ยวจี๊ดช่วยให้รู้สึกคลายอาการเวียนศีรษะได้อย่างรวดเร็ว แล้วก็ยังมีอีกตัวเลือกที่เปรี้ยวจี๊ดสะใจสุด ๆ อย่างมะนาวที่เป็นเมนูแก้เวียนหัว อีกทั้งยังช่วยให้ไม่รู้สึกพะอืดพะอมจนอยากอาเจียนได้ด้วย ใครสงสัยว่าปวดหัวไมเกรน หรือเวียนหัวกินอะไรหายคำตอบก็คือ มะนาว ค่า

4.ช็อกโกแลตคือเมนูแก้เวียนหัว

หลาย ๆ คนคงอาจจะเคยได้ยินคำว่าภาวะน้ำตาลตก ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายขาดน้ำตาล ก่อให้เกิดอาการหลาย ๆ อย่างรวมทั้งอาการเวียนศีรษะ ดังนั้น ช็อกโกแลตจึงเป็นเมนูแก้เวียนหัวที่ดีที่ควรมีติดกระเป๋า เวียนหัวเมื่อไหร่ก็หยิบมาทาน เติมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเร่งด่วน

5.น้ำขิงเป็นหนึ่งในเมนูแก้เวียนหัว

ปวดหัวไมเกรน หรือเวียนหัวกินอะไรหายก็ต้องน้ำขิงร้อน ๆ เลยค่ะ นอกจากจะช่วยให้อาการหวัดดีขึ้นแล้ว น้ำขิงยังมีส่วนช่วยให้ลดอาการอักเสบในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในลด และยังช่วยบรรเทาอาการไมเกรนที่ส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัวระหว่างวันได้ ใครที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดไมเกรนอย่าลืมเพิ่มน้ำขิงไว้เป็นเมนูแก้เวียนหัวกันด้วยนะ

6.ผักโขมอีกเมนูแก้เวียนหัว

นอกจากจะเป็นส่วนประกอบของเมนูแสนอร่อยหลากหลายเมนูแล้ว ผักโขมยังเป็นเมนูแก้เวียนหัวจานเด็ดได้อีกด้วย เพราะผักโขมมีสารช่วยบำรุงเลือด และช่วยให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง และหัวใจ ใครได้ทานเมนูแก้เวียนหัวนี้รับรองว่าไร้อาการเวียนหัวแน่นอน

7.ใบบัวบกคือเมนูแก้เวียนหัว

เมนูแก้ช้ำในยอดฮิต ที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อย่างรวดเร็ว แต่นอกจากนั้น ‘ใบบัวบก’ ยังเป็นเมนูแก้เวียนหัวชั้นยอดอีกด้วย เพราะใบบัวบกจะเข้าไปช่วยเติมน้ำให้กับร่างกายได้อย่างรวดเร็วสำหรับผู้มีภาวะขาดน้ำจนเกิดอาการเวียนหัว นอกจากนี้ใบบัวบกยังมีสารที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย เมนูแก้เวียนหัวชั้นยอดแบบนี้ต้องมีไว้ใกล้ ๆ ตัว

8.มะกรูดเป็นเมนูแก้เวียนหัว

สมุนไพรไทยพื้นฐานก็สามารถเป็นเมนูแก้เวียนหัวได้เช่นกัน อย่างเช่นมะกรูดที่กลิ่นของสมุนไพรนี้จะช่วยให้ผู้ทีได้กลิ่นรู้สึกสดชื่น ลดอาการเวียนศีรษะได้ และทำให้รูสึกดี โดยวิธีการใช้งานก็ง่ายเพียงแค่ฝานมะกรูดบาง ๆ แช่ลงในน้ำร้อน และค่อย ๆ จิบ ใครได้ดื่มเมนูแก้เวียนหัวนี้ต้องไร้อาการเวียนหัวอย่างแน่นอน

9.เครื่องในสัตว์หนึ่งในเมนูแก้เวียนหัว

อาจจะไม่ใช้เมนูแก้เวียนหัวที่ทานปุ๊บ ได้ผลทันที แต่เป็นเมนูแก้เวียนหัวที่ทานไว้ก่อนที่จะเกิดอาการ หรือใครที่มีอาการเวียนหัวระหว่างวันบ่อย ๆ ก็อาจะจต้องเริ่มเพิ่มเมนูแก้เวียนหัวอย่างเครื่องในสัตว์มาอยู่ในลิสต์ เพราะเครื่องในสัตว์นั้นอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งดีต่อผู้มีภาวะโลหิตจางที่อาจจะเกิดอาการเวียนหัวได้บ่อยครั้ง

ใครที่มีอาการเวียนหัวระหว่างวันบ่อย ๆ หรือมีข้อสงสัยว่าเมื่อเกิดอาการปวดหัวไมเกรน หรือเวียนหัวกินอะไรหาย มึนหัวตื้อ ๆ แก้ยังไง หรือปวดหัวตื้อ ๆ หนัก ๆ วิธีแก้คืออะไรบ้าง ก็อย่าลืมเพิ่ม 9 เมนูแก้เวียนหัวนี้ใส่ลิสต์เอาไว้ บางอย่างแก้ได้ทันที บางอย่างกินไว้ก่อนดีกว่ามาแก้ รับรองว่าอาการเวียนหัวระว่างวันบ่อย ๆ ไม่มากวนใจอีกแน่นอน

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/headache#prevention

https://www.phyathai.com/th/article/easily-cure-headaches-yourself-ptp?srsltid=AfmBOoq8B61M1ttkWq5AE4vSAig8hMtHeEFJY1nwFPRZDj8FUmrybcTchttps://www.pobpad.com/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B6%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7-10-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2

https://www.watsons.co.th/th/blog/latest-trend-th/9-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%94

คลิกอ่านคอนเท้นอื่นๆที่น่าสนใจ

Previous

อีฟนิ่งพริมโรส มีสรรพคุณและประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร ควรกินตอนไหน

Next

ทำความรู้จักกับชุดตรวจการตั้งครรภ์ ควร ใช้อย่างไรให้ได้ผลแม่นยำ

Related Topics
Share
*/?>